เภสัชกร ไขความเชื่อ เก็บยาทุกชนิดไว้ในตู้เย็น ดีจริงหรือ!
เข้าสู่ฤดูฝน หลายคนเริ่มเผชิญกับกับโรคภัยไข้เจ็บ หรือซื้อยารักาโรคมาเก็บเตรียมไว้บ้างแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อไม่น้อยกับเมืองร้อนอย่างไทย ที่หลายคนเชื่อว่าการเก็บยาที่ดีที่สุดคือ ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น?
ซึ่ง ภก.อนุชิต ตุงธนบดี งานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ความเชื่อว่าการเก็บยาไว้ในอุณหภูมิต่ำๆ จะทำให้รักษาความคงตัวของยาได้นานขึ้น หรืออาจเข้าใจว่าจะสามารถยืดวันหมดอายุของยาให้นานขึ้นได้ จึงนิยมนำยาเก็บไว้ในตู้เย็นแทบทุกชนิด นั่นอาจทำให้การคงตัวของยาเสียไปได้ เนื่องจากความชิ้นและอุณหภูมิอาจไม่เหมาะสมกับยาบางชนิด เช่น หากนำยาแขวนตะกอนหรือยาน้ำเชื่อมบางประเภทมาแช่เย็น ก็อาจจะทำให้เกิดการตกตะกอนได้ หรือยาแคปซูลบางชนิดที่มีการเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีความชิ้นสูง มักจะทำให้แคปซูลเยิ้มจนติดกันได้
“การแช่ยาบางชนิดในตู้เย็น นอกจากอาจจะทำให้เกิดการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญแล้ว ยังทำให้เกิดสารพิษขึ้นได้ด้วย เช่น การแช่ยาเม็ดแอสไพรินในตู้เย็นที่มีความชื้นสูง จะทำให้เกิดการสลายตัวเป็นกรดซาลิไซลิกและกรดอะซิติก ซึ่งจะทำให้ยาไม่มีผลในการต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด รวมทั้งยังทำให้เกิดพิษ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ชัก และหมดสติได้เมื่อรับในปริมาณสูง”
ดังนั้น การเก็บยาไว้ในตู้เย็น จึงไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ซึ่ง ภก.อนุชิต แนะนำว่า ควรอ่านฉลากยาหรือรายละเอียดบนกล่องยา เพื่อศึกษาถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษายาอย่างถูกต้องดีกว่า
ข้อมูลจากนิตยสาร @Rama โรงพยาบาลรามาธิบดี
June 16, 2020 at 05:38AM
https://ift.tt/2AtEKz7
เภสัชกร ไขความเชื่อ เก็บยาทุกชนิดไว้ในตู้เย็น ดีจริงหรือ! - มติชน
https://ift.tt/2VblJHO
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เภสัชกร ไขความเชื่อ เก็บยาทุกชนิดไว้ในตู้เย็น ดีจริงหรือ! - มติชน"
Post a Comment