Search

พลังงานความเย็นจากแอลเอ็นจี สู่นวัตกรรมผลผลิตพืชเมืองหนาว - กรุงเทพธุรกิจ

tayangenter.blogspot.com

19 สิงหาคม 2563

349

นวัตกรรมที่ช่วยนำสิ่งเหลือใช้มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พลังงานในการผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของไทยก็คือก๊าซธรรมชาติ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากอ่าวไทย และแหล่งก๊าซในประเทศเมียนมา อย่างไรก็ตาม จากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นประกอบกับแหล่งก๊าซดั่งเดิมที่ลดลง ทำให้ไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี จากต่างประเทศเข้ามาผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม

 โดย แอลเอ็นจี ที่นำเข้ามานี้จะถูกขนส่งทางเรือในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิ -160 องศาเซลเซียส  ซึ่งจะถูกแปลงสภาพให้กลายเป็นก๊าซโดยแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำทะเล โดยการปล่อยให้ แอลเอ็นจี ไหลผ่านท่อจากด้านล่างขึ้นไปยังด้านบนในขณะที่ท่อน้ำทะเลจะปล่อยน้ำทะเลจากด้านบนลงสู่ด้านล่างทางด้านนอกของท่อ แอลเอ็นจี ซึ่งความร้อนจากน้ำทะเลนี้ จะทำให้ แอลเอ็นจี เปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซโดยไม่มีการสัมผัสกัน

อย่างไรก็ตาม วิธีการเปลี่ยน แลอเอ็นจี เป็นก๊าซธรรมชาติที่กล่าวมาขั้นต้น แม้ว่าจะมีต้นทุนที่ต่ำ แต่ก็เป็นการนำความเย็นที่เกิดขึ้นมาทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ ดังนั้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่มคือ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) จึงได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตนำความเย็นที่เกิดขึ้นมาปลูกพืชเมืองหนาว เพื่อนำสิ่งที่เหลือทิ้งมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะภาคการเกษตร สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจากการปลูกพืชเมืองหนาว และยังเป็นการสร้างฐานความรู้ด้านการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองต่อไป

คลิปข่าว

น.ส.สุภาวดี ศรีทอง  หัวหน้างานฝ่ายผลิตสตรอว์เบอร์รี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโรงเรือนไม้เมืองหนาว บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ในช่วงเริ่มต้น ปตท. ได้ทดลองนำความเย็นจากการแปลงสภาพแอลเอ็นจีมาปลูกไม้ดอกเมืองหนาวก่อน จากนั้นก็ต่อยอดความสำเร็จมาทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาว โดยเริ่มที่การปลูกสตรอว์เบอร์รี ซึ่งได้ศึกษาสตรอว์เบอร์รีหลากสายสายพันธ็ พบว่าสายพันธุ์อากิฮิเมะ จากเมืองซิชึโอกะ ประเทศญี่ปุ่นมีความเหมาะสมที่สุด ให้ผลผลิต 500 – 600 กรัมต่อต้นต่อรอบ และสูงสุดได้ถึง 1 กิโลกรัม แต้ผลผลิตจะต่ำกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นอบยู่เล็กน้อย เพราะในไทยศัตรูพืชเยอะกว่า

 ทั้งนี้ ทีมงาน ปตท. ได้ศึกษาเรียนรู้จากเกษตรกรชาวญี่ปุ่น และทำงานร่วมกับนักวิจัยการเกษตรเพื่อเข้าใจถึงความต้องการของสตรอว์เบอร์รีพันธุ์อะกิฮิเมะ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำ ความต้องการแสง อุณหภูมิที่เหมาะสมในแต่ละช่วงของสตรอว์เบอร์รี และเคล็ดลับที่ทำให้สตรอว์เบอร์รีมีกลิ่นหอม หวานอร่อยตามลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์  และเราใช้ความรู้นำทางไปสู่การสร้างโรงเรือนอัจฉริยะที่สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับการยกฟาร์มจากชิซึโอกะมาไว้ที่จังหวัดระยอง

สำหรับการปลูกพืชในโรงเรือนอัจฉริยะมีประโยชน์ในด้านการควบคุมสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเติบโตของพืชเมืองหนาวอย่างสตรอว์เบอร์รี โดยเราสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสงแดด ช่วยป้องกันแมลงและศัตรูพืช มลภาวะแวดล้อม เชื้อโรค แม้แต่การป้องกันน้ำฝนเจือปนลงในดิน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อการเติบโตของต้นสตรอว์เบอร์รี ทำให้ต้นกล้าทุกต้นถูกดูแลอย่างดีในโรงเรือนอนุบาลแบบระบบปิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเติบโตเป็นต้นสตรอว์เบอร์รีที่แข็งแรงสมบูรณ์ ก่อนจะถูกย้ายเพื่อลงแปลงปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุครบ 30 -วัน และต้นสตรอว์เบอร์รี่ที่ปลูกในโรงเรือนระบบปิด จะเติบโตอย่างแข็งแรง และให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพตลอดทั้งปี

 ส่วน ความเย็นจากการแปลงสภาพแอลเอ็นจี จะนำมาที่โรงเรือนด้วยการท่อไอเย็นที่ติดตั้งอยู่ใต้แปลงปลูกทุกแปลง ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 17 – 25 องศาเซลเซียสได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของสตรอว์เบอร์รี่ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์เพื่อตรวจความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ร่วมกับระบบสเปรย์ละอองน้ำ ระบบระบายอากาศ เพื่อเพิ่มหรือลดความชื้นตามความเหมาะสม รวมทั้งได้ทดลองนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ มาช่วยเร่งการเจริญเติบโตด้วย

 “ปตท. ได้นำเข้าเนื่อเยื่อสตรอว์เบอรีสายพันธุ์อากิฮิเมะ จากประเทศญี่ปุ่น และนำมาขยายพันธุ์นำลงปลูกในโรงเรือนที่ทันสมัยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่จะจ่ายน้ำด้วยระบบน้ำหยดสามารถควบคุมสารอาหารต่างๆได้ครบถ้วน เพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตดีที่สุด ซึ่งระบบการเพาะปลูกนี้เป็นแบบออแกนิก นอกจากนี้ยังมีรังผิ้งเพื่อเลี้ยงผึ้งสายพันธุ์นำเข้าที่เหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ผสมเกสรให้เกิดผลสตรอว์เบอรี่ ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติ และมีความปลอดภัยสูง”

สำหรับพื้นที่เพาะปลูกมีทั้งหมดกว่า 5 พันตารางเมตร สามารถให้ผลผลิตสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ยประมาณ 2 ตันต่อเดือน โดยได้นำไปจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าพารากอน วและห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ภายใต้แบรนด์ Harumiki ส่วนในอนาคตจะขยายพื้นที่เพิ่มอีก 1.5 พันตารางเมตร เพื่อทดลลงปลูกพืชเมืองหนาวอื่น ๆ เช่น บลูเบอร์รี เชอร์รี และวนิลา ต่อไป 

นายปรัชญาภัทร ชูยินดี หัวหน้างานฝ่ายผลิตแผนกดอกไม้เมืองหนาว กล่าวว่า ไม่เพียงแต่การปลูกผลไม้เมืองหนาว ปตท. ยังได้นำคยามเย็นจากการแปลงสภาพแอลเอ็นจีมาทดลองปลูกไดอกเมืองหนาวด้วย เช่น ทิวลิป ลิลลี่ ไฮเดรนเยีย ส่วนใหญ่นำสายพันธุ์มาจากประเทศฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ และปลูกซากุระ สายพันธ์จากประเทศญี่ปุ่น โดยดอกไม้ส่วนใหญ่จะนำไปขายในช่วงเทศการ เช่น วันวาเลนไทน์ และตรุษจีน ซึ่งตลาดมีความต้องการสูงมาก 

 น.ส.นฤมล รักนิสัย พนักงานฝ่ายผลิตสตรอว์เบอร์รี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโรงเรือนไม้เมืองหนาว ปตท. ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรจังหวัดระยอง ที่ได้เข้ามาร่วมงานในโครงการปลูกพืชเมืองหมาวของ ปตท. กล่าวว่า ในการเข้ามาร่วมทำงานในโครงการนี้ ทำให้มีรายได้ที่มั่นคงมากกว่าทำงานในโรงงาน และยังเป็นการทำงานในพื้นที่ใกล้บ้าน จึงมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้ความรู้ และเทคโนโลยีในการปลูกพืช ที่ได้เรียนรู้จาก ปตท. นำไปประยุกต์ใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัวที่บ้าน ทำให้มีรายได้เสริมมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น

Let's block ads! (Why?)




August 19, 2020 at 04:23PM
https://ift.tt/34a4Tzn

พลังงานความเย็นจากแอลเอ็นจี สู่นวัตกรรมผลผลิตพืชเมืองหนาว - กรุงเทพธุรกิจ

https://ift.tt/2VblJHO


Bagikan Berita Ini

0 Response to "พลังงานความเย็นจากแอลเอ็นจี สู่นวัตกรรมผลผลิตพืชเมืองหนาว - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.